ผู้ป่วยที่มีลักษณะการสบฟันผิดปกติร่วมกับกระดูกขากรรไกรที่ผิดปกติ เช่น ฟันหน้าล่างสบคร่อมฟันหน้าบนและขากรรไกรล่างยื่น เป็นต้น ควรได้รับการตรวจและวางแผนการรักษากับทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาทันตกรรมจัดฟันโดยละเอียด เพื่อประเมินว่าควรได้รับการรักษาจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรหรือไม่ หากผู้ป่วยไม่มีประวัติของคนในครอบครัวที่มีลักษณะขากรรไกรล่างยื่น หรือ มีความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรเล็กน้อย การจัดฟันร่วมกับการใช้หมุดทางทันตกรรมจัดฟัน (Temporary Anchorage Device, TAD) ภายใต้การใช้ยาชาเฉพาะที่ สามารถให้ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ มีการสบฟันที่สวยงามยิ่งขึ้นโดยที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องผ่าตัดขากรรไกร

ผู้ป่วยขากรรไกรล่างยื่น ฟันหน้าล่างสบคร่อมฟันหน้าบน รักษาโดยการจัดฟันร่วมกับการบูรณะฟันหน้าบน

ผู้ป่วยขากรรไกรล่างยื่น ฟันล่างทั้งหมดสบคร่อมฟันบน รักษาโดยการจัดฟันร่วมกับการใช้ TAD ในขากรรไกรล่าง

แต่มีข้อเสียคือรูปหน้าของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการแก้ไข ดังนั้น หากผู้ป่วยต้องการแก้ไขรูปหน้าร่วมด้วย เช่น การลดขากรรไกรล่างยื่น ทันตแพทย์จัดฟันต้องวางแผนจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดกระดูกขากรรไกรภายใต้การดมยาสลบ โดยผู้ป่วยเพศหญิงและเพศชายสามารถรับการผ่าตัดได้ที่อายุ 17-18 ปี และ 19-20 ปี ตามลำดับ ผู้ปกครองจึงสามารถพาบุตรหลานมารับการตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียดก่อนอายุดังกล่าวเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละราย

Published On: November 29th, 2020 / Categories: Uncategorized @th /